ทำไมวันนี้เทรนด์การทำ Digital Detox จึงกำลังมาแรง
ทำไมวันนี้เทรนด์การทำ ‘Digital Detox’ จึงกำลังมาแรง
ใครเคยมีอาการแบบนี้ยกมือขึ้น...ทำไมไม่ค่อยเห็นเพื่อนใน facebook เลย หรือเราไปทำอะไรให้เขาบล็อกหรือเปล่า?
หรือเราถูก unfriend ไปแล้ว ไม่เห็นกดไลท์เหมือนเดิม หรือเราถ่ายเซลฟี่ในฟิตเนสทุกครั้งจนเพื่อนรำคาญ
รูปที่ลงเซ็กซี่ไปรึเปล่านะ คิดไปต่าง ๆ นานา แบบนี้เข้าข่ายเสพติดโซเชียลอย่างไม่รู้ตัว
อยู่มาวันหนึ่งเห็นเตตัสสั้นๆว่า “ไป Detox โลกออนไลน์มาแล้วนะ…ต้องขอโทษด้วยที่กลับเข้ามาดูนิดหน่อย…ไม่ได้เล่นเฟสบ่อยแล้วนะ”
เมื่อผู้คนหนีโลกออนไลน์ เลี่ยงการแตะต้องเทคโนโลยีสื่อสารที่พยายามเรียกร้องความสนใจทุกวินาที ทำไมวันนี้เทรนด์การทำ ‘Digital Detox’ จึงกำลังมาแรง
งานวิจัยใหม่ๆที่ศึกษาถึงโลกโซเชียลมีเดียชี้ชัดตรงกันว่า ภาวะติดมือถือก็เป็น ‘การเสพติด’
ในรูปแบบหนึ่ง สมองของมนุษย์โหยหาสิ่งเร้า 3 ประการหลัก คือ “รื่นรมย์ รวดเร็ว เหนือความคาดเดา”
ซึ่งโลกโซเชียลออนไลน์สามารถตอบสนองสิ่งเร้าทั้ง 3 ประการได้ครบอย่างน่าอัศจรรย์
สมองจึงหลั่งสารที่มอบความรู้สึกดีอย่าง ‘โดปามีน’ (dopamine) ให้เป็นรางวัลทุกครั้งที่จับมือถือมาเลื่อนรูดหน้าจอดูคอมเม้นท์จากเพื่อนๆที่ติดตาม
เท่านี้ใจก็เป็นสุขนั่งยิ้มได้ทั้งวัน แต่ภาวะการติดมือถือคงไม่รุนแรงมาก ถ้าเราติดมันเพียงแค่ผิวเผิน แต่ในความเป็นจริงกลับส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และสุขภาวะทางอารมณ์
ทำให้คนคิดเร็วทำเร็ว ตัดสินใจเร็วแบบไม่ได้ไตร่ตรอง มีหลายคนใช้เฟสบุ๊คเป็นที่ระบายอารมณ์ เช้ามาต้องโพสต์ด่าด้วยอารมณ์ที่โมโห รถติดก็โพสต์ด่า
รถปาดหน้าก็โพสต์ด่า ไม่พอใจเพื่อน ไม่พอใจเจ้านาย ก็โพสต์ด่า เป็นเรื่องที่ทำจนเป็นนิสัยไปเลยก็มี
งานศึกษาของปีค.ศ. 2017 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Psychological Science เผยว่า วัยรุ่นที่ใช้เวลาต่อเนื่องบนมือถือมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปราว 34%
มีโอกาสตัดสินใจฆ่าตัวตาย (ทั้งทำสำเร็จและไม่สำเร็จ) มากกว่าวัยรุ่นที่เล่นมือถือน้อยว่า 3 ชั่วโมง
แม้มือถืออาจไม่ได้เป็นผู้ต้องหารายสำคัญอันเป็นสาเหตุให้ใครๆ ฆ่าตัวตาย แต่มันดึงความสนใจเราไปจดจ่อกับ feedback
มากกว่าที่เราจะสัมผัสจากตัวเราเอง ผลักดันให้เรารู้สึกวิตกกังวล เครียดเรื้อรัง และอาจเกิดอาการนอนไม่หลับ
จากสาเหตุที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเครียด cortisol อยู่ต่อเนื่อง และไม่ลดต่ำลงกว่า baseline ปกติ
คนส่วนใหญ่ที่หนีไปทำ digital detox ล้วนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “โลกออนไลน์ทำให้เราโฟกัสสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตน้อยลงทุกวัน”
เกิดความเครียด วิตกกังวล ไม่สามารถทำให้อะไรสำเร็จลุล่วงได้เพราะไม่มีสมาธิ มีงานทดลองว่า
หากให้อาสาสมัครนั่งทำงานแล้วมีแอพส่งเสียงขัดจังหวะตลอดเวลา อาสาสมัครจะทำงานได้ช้าลงถึง 400 เท่าจากปกติเลยทีเดียว
พ่อแม่หลายคนจึงเริ่มมีนโยบายให้ลูกๆ อยู่ห่างมือถือ จำกัดเวลาเล่น และให้พวกเขาอยู่กับสื่อที่หยิบจับเชิงกายภาพได้มากขึ้น
ซึ่งล้วนได้รับการยืนยันจากบรรดาแพทย์ว่า ‘ควรทำ’ และต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
คนที่พยายามทำ Digital Detox ต้องต่อสู้กับความอยากที่พยายามฉุดให้เราต้องคว้ามือถือมาเช็ค
เพราะทุกรายละเอียดของชีวิตเราฝากไว้กับมือถือ ทุกเบอร์โทรของเพื่อน ลูกค้าและคนสำคัญ บันทึกไว้ในมือถือ การนัดหมายทุกอย่างถูกบันทึกไว้
งานที่ทำผูกมัดกับโลกโซเชียล ยิ่งเป็นไปไม่ได้ สำหรับหลายๆ คน กลายเป็นเรื่องที่ทำยากสำหรับบางคน
ถ้าการทำ Digital Detox ทำยากขนาดนั้น ทำไมถึงยังมีคนสนใจทำได้ล่ะ? หัวใจสำคัญคือ ค่อยๆ ปรับ และแบ่งเวลาการใช้มือถือที่เป็นสัดส่วน
ไม่ถึงกับต้องห่าง Facebook ไปเสียทีเดียวเลย หากคุณยังต้องทำมาหากินบน Platform นี้อยู่ อาจจะตั้งเวลาว่าในช่วงเวลาก่อนนอน 3 ชั่วโมง
อ่านหนังสือที่ตั้งใจไว้สักหน่อย ก่อนปิดการเตือนทุกแอพ เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่โหมดเตรียมตัวนอน หลังจากนั้นลองค่อยๆ
ปิดการเตือนของแอพที่คุณคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือลบแอพที่ไม่ได้ใช้บ่อย ๆ ออกจากหน้าจอ
หลายต่อหลายคนบอกว่าเมื่อทำ Digital Detox แล้ว ช่วยทำให้เขาโฟกัสอะไรได้สำเร็จดีขึ้น ได้สำรวจการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง
ช่วยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น จัดการกับอารมณ์ได้ดี ลดอาการมือลั่นพิมพ์หรือโพสต์โดยไม่ทันคิด
ที่สำคัญไม่รู้สึกว่าถ้าไม่มีมือถือแล้วชีวิตจะทำอะไรไม่ได้
อ้างอิงข้อมูลจาก : Increases in Depressive Symptoms, Suicide-Related Outcomes,
and Suicide Rates Among U.S. Adolescents After 2010 and Links to Increased
New Media Screen Time Nomophobia: A Rising Trend in Students
#"เริ่มต้นที่เราอ่าน...สู่การอ่านเพื่อสังคมอุดมปัญญา"
#กระจายบุญ...เริ่มต้นที่เราให้ สังคมได้ไม่สิ้นสุด
#กระจายบุญ...พวงหรีดเพื่อสังคม...อุทิศให้ผู้วายชนม์
#กระจายบุญ...บุญที่จับต้องได้
#กระจายบุญ...ให้ได้มากกว่าที่คิด...อุทิศแด่ผู้ที่จากไป