New Normal : ความปกติแบบใหม่ในสังคมไทย

New Normal : ความปกติแบบใหม่ในสังคมไทย

ติดตามข่าวในสื่อต่าง ๆ มักได้ยินคำว่า “New Normal” หรือความปกติแบบใหม่

ให้เห็นจนชินหู ชินตา แรกๆ ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไร่ เมื่อได้ทำความเข้าใจก็เริ่มสังเกตคนรอบข้างว่ามี

อะไรที่ทำกันจนเป็นเรื่องปกติแบบใหม่ ในยุคที่โควิด-19 ระบาดบ้างมั้ย

 สังเกตุจากคนใกล้ตัว อากงอาม่า ที่ไม่เคยเล่นโซเชียลเลย หลังจากที่ต้องอยูบ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ

กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนไป ตั้งแต่ 7 โมงเช้าจนถึง 2 ทุ่ม นั่งจ้องมองแต่จอเล็กและจอใหญ่สลับกันไป ปิดทีวีเพื่อพักจอ

หันมาหยิบมือถือเปิดดูคลิป ดูยูทูป กันทั้งวัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือสภาวะทางอารมณ์ที่มักขึ้นๆลงๆ

เพราะระหว่างที่ดูนั้นจะวิเคราะห์ ส่วนใหญ่จะวิเคราะห์และตัดสินให้หมดเลยว่าผิดหรือถูก จนทำให้คิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้มัน

อาจจะเป็นการบุลลี่คนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว และอาจจะทำให้เป็นคนสูงอายุที่มีมุมมองสังคมในด้านลบมากกว่าด้านบวก

นึกต่อไปว่าหากสถานการณ์โควิด-19 ยังคงอยู่ การที่ผู้สูงวัยไม่ได้ออกจากบ้านไปเที่ยว ไปพักผ่อนในสถานที่ที่ปลอดโปร่ง

อาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเครียด จนเป็น New Normal ที่เป็นความปกติแบบใหม่ไปเสียแล้ว

   การมาของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

แต่ย่อมเกิดพฤติกรรมรูปแบบใหม่ของผู้บริโภค ซึ่งเรามักเริ่มได้ยินบ่อย ๆ แล้วว่า “New Normal”

หรือความปกติแบบใหม่ในสังคมไทย จากผลการสำรวจหลังพ้นโควิด-19 วิถีชีวิตของคนไทยและโลก

จะไปในทิศทางไหนกันบ้าง เว็ปไซต์ https://www.posttoday.com/ ให้ข้อมูลและศัพท์ใหม่ๆ

ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่เราควรรู้กันไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย



FutureTales Lab by MQDC  ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการศึกษา วิเคราะห์

และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่ออนาคต เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับมนุษยชาติ ภายใต้บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์

คอร์ปอเรชั่น เผย “10 ประเด็น Next Normal ของอนาคตคนเมือง หลังพ้นวิกฤต COVID-19 จะเป็นอย่างไร”

  ซึ่งเป็น 10 เทรนด์ที่สังคมไทยควรจะตั้งรับ ทั้งในแง่มุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต การอยู่อาศัย 

เทคโนโลยี การเดินทาง และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของนโยบายภาพใหญ่ของรัฐบาล ประกอบด้วย

1. Social Structure โครงสร้างทางสังคมใหม่ๆ ที่จะมีการออกกฎหมายที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก

เป็นกฎหมายเดียวกันที่ช่วยในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี IOT Infrastructure 

ผู้คนจะให้ความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่มากยิ่งขึ้น

โดยจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อที่จะปกป้องสุขภาพ และทรัพย์สินของตัวเองและครอบครัวมากยิ่งขึ้น

2. Resilience & Agile by Force ความร่วมมือระหว่างองค์กรและอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น

รัฐและองค์กรธุรกิจสามารถใช้โอกาสนี้ในการจัดการเรียนผ่านออนไลน์ฟรีให้กับแรงงาน

หรือการกำหนดระเบียบการทำงานที่ลดการใช้ทรัพยากรได้มากขึ้น

3. Global Emotional Crisis & Touchless Society ปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ

อย่างเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาจากเดิมมีวิธีการทักทายแบบจับมือหรือกอด แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ทำให้ไม่สามารถทำได้

ทำให้การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ ส่งผลในเรื่องของอารมณ์ในแง่ของความใส่ใจ

และความห่วงใยในอนาคต อย่างวัยทำงานที่นิยม Co–Working Space ก็อาจจะมีปรับพื้นที่ในรูปแบบ Sharing Space With Boundary

หรือมีการแบ่งแยกพื้นที่ของตัวเองมากขึ้น และการออกแบบพื้นที่บริการแบบไม่ต้องสัมผัส แต่ใช้ voice recognition หรือ AR แทน

4. Public Space / Indoor Technology with Health Factor ศูนย์การค้าจะต้องมีการวางแผนรับมือ และสร้างเครื่องมือต่างๆ

เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การวางระบบฆ่าเชื้อสำคัญเหมือนการวางระบบแอร์ น้ำ ไฟ

มีการกำหนดมาตรฐานระบบ clean air quality ในอาคาร



5. Prioritizing Space Over Convenience วิถีความคิดของผู้บริโภคในแง่การซื้อที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไป

เมื่อสามารถทำงานที่บ้านได้อาจจะไม่จำเป็นต้องเดินทางทุกวัน จึงส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย

ไม่จำเป็นต่ออยู่ในเมือง ติดรถไฟฟ้า  แต่อาจปรับเปลี่ยนเป็นบ้านนอกเมือง

แต่มีพื้นที่มากขึ้น มีสวน การปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศมาใช้อาศัยประจำแทน

6. Everything At Home เศรษฐกิจติดบ้าน โรคระบาดทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เริ่มเคยชินกับการอาศัยอยู่ในบ้าน

ทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในที่พักอาศัยของตนเอง ส่งผลต่อความต้องการที่พักอาศัยที่อาจจะเปลี่ยนไป

  และต้องการมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น 

7. Proactive Healthcare Platform แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น 

โครงสร้างพื้นฐานของเมือง อาคาร บ้านจะต้องมีบริการและแพลตฟอร์มสุขภาพและสุขภาพจิตเป็นบริการพื้นฐาน 

8. Last mile & next hour logistic ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง

จะทำให้ระบบการขนส่งระยะสั้นแบบ 1 กิโลเมตร และการจัดส่งแบบรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง

จะเป็นที่ต้องการ และความสำคัญมากยิ่งขึ้น 



9. Wearable Device – Prioritizing Health & Safety Over Privacy ผู้บริโภคจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่มีมากยิ่งขึ้น

เช่น การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เจาะลึกถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น สามารถดูได้ว่า ณ วันนี้

สถานที่ที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว

10. Super Food & Food Supply Chain Transparency To Personal Food Supply 

ผู้บริโภคจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ต้องการความมั่นใจมากขึ้นว่าสินค้าที่จะนำมาปรุงอาหารต้องมีมาตรฐาน

ปลอดภัย และมีความสะอาด รวมถึงผู้บริโภคบางส่วนเองเริ่มมีการทำฟาร์มขนาดเล็กในเมืองมากยิ่งขึ้น 

จากข้อมูลดังกล่าว ตัวเราเอง รวมถึงสังคมไทยควรจะตั้งรับ และวางแผนการใช้ชีวิต

การอยู่กินกันอย่างไรเพื่อให้สามารถมีชีวิตในอนาคตมีความสุขได้ กับ New Normal : ความปกติแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

#"เริ่มต้นที่เราอ่าน...สู่การอ่านเพื่อสังคมอุดมปัญญา"

#กระจายบุญ...เริ่มต้นที่เราให้ สังคมได้ไม่สิ้นสุด

#กระจายบุญ...พวงหรีดเพื่อสังคม...อุทิศให้ผู้วายชนม์

#กระจายบุญ...บุญที่จับต้องได้

#กระจายบุญ...ให้ได้มากกว่าที่คิด...อุทิศแด่ผู้ที่จากไป

  • share :
พร้อมบริการส่งรูปภาพยืนยัน เมื่อพวงหรีดจัดส่งเรียบร้อยแล้ว
สั่งพวงหรีดทางเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
“ไม่รับ” ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิต เนื่องจากเหตุผลด้านการดำเนินงานจัดซื้อของบริจาค