“ให้” และ “แบ่งปัน” ...ควรเริ่มที่ใคร?


“ให้” และ “แบ่งปัน” ...ควรเริ่มที่ใคร? 

เคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองกันมั้ย หรือเคยถามตัวเองกันมั้ยว่า ตั้งแต่เกิดมาจนทุกวันนี้เคยให้ และแบ่งปันอะไรกับใครบ้าง?

ในโลกแห่งความจริง ที่ไม่ได้มองโลกสวยงามเกินความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันของคนหนึ่งคนนั้น เรื่องของการให้

และแบ่งปันมีอยู่ในชีวิตของทุกคนในสังคมหรือไม่ ตอบได้ทันทีว่า “ไม่” เพราะอะไร เพราะคนทุกคนเกิดมาภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน

บางครอบครัวทำเรื่องการให้ และการแบ่งปันเป็นประจำ ในที่นี้ไม่ได้ทำเพราะหน้าที่ แต่ทำโดยพื้นฐานของจิตใจ จนถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

บางครอบครัวไม่เคยทำสิ่งเหล่านี้ ไม่เคยคิดถึงเรื่องการให้หรือแบ่งปันผู้อื่น ในทางกลับกันยังมองว่าธุระไม่ใช่ ทำไมต้องให้ ให้แล้วได้อะไร?

คนเหล่านี้ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด หากแต่เขาเห็นว่าเขารับผิดชอบในชีวิตของคนในครอบครัวอย่างดีแล้ว



พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวถึงธรรมของการ “ให้” ว่า...การรู้จักให้ ช่วยปรับใจเราให้ไม่คิดแต่จะเอาฝ่ายเดียว จิตที่คิดแต่จะเอาเป็นจิตที่ทุกข์ง่าย

เพราะถูกเผาลนด้วยความโลภเป็นอาจิณ ต้องดิ้นรนไล่ล่าหาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครองไม่หยุดหย่อน แม้ได้มามากมายเพียงใดก็ยังไม่พอใจ อยากได้เพิ่มอีก

จึงหาความสงบสุขได้ยาก การให้ ช่วยลดทอนความโลภ บรรเทาความเห็นแก่ตัว หากสิ่งที่ให้นั้นเป็นทรัพย์หรือวัตถุ ก็ช่วยให้เราละความยึดติดถือมั่นใน “ตัวกูของกู”

ทุกวันนี้เรามีความเข้าใจเรื่องของการให้และแบ่งปันอย่างไรบ้าง ลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเราเองดูสิว่าเราได้เป็น ผู้ให้ ผู้แบ่งปัน ที่ดีแล้วหรือยัง

การให้และแบ่งปัน ให้แล้วเราต้องสบายใจ การให้และแบ่งปันต้องมาจากความสบายใจ ความเต็มใจ และต้องไม่ฝืนใจ เพราะถ้าเราไม่เต็มใจ เราฝืนใจทำ



เราจะไม่ได้อะไรจากการให้และแบ่งปันเลย แม้แต่ความสุข หรือความสบายใจที่ควรจะได้รับ กลับเป็นความกังวลใจ ทุกข์ใจเข้ามาแทนที่

การให้และแบ่งปัน ต้องเกิดจากความปรารถนาดีและไม่คาดหวัง การให้และการแบ่งปันต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้รับโดยไม่คาดหวัง เช่น ให้ความรู้ ให้กำลังใจ

หรือให้โอกาสคนคนหนึ่ง คนกลุ่มหนึ่งให้ได้รับในสิ่งที่ดีงาม ให้ได้รับในสิ่งที่ขาดแคลน เป็นการให้เกิดจากความปรารถนาดีต่อกัน โดยที่เราไม่หวังผลตอบแทนจากสิ่งที่เราได้กระทำหรือจากสิ่งที่เราให้  ผลที่ตามก่อให้เกิดความสุขใจที่ได้ให้ เป็นความสุขใจที่ได้ทำ หากเรามีความคาดหวังว่าเราจะได้อะไรจากการให้และแบ่งปันในครั้งนี้นะ สิ่งที่เรามักได้รับกลับคืนมาคือความกังวลใจ ว้าวุ่นใจตามมา



การให้และแบ่งปันในสิ่งที่เราสามารถให้ได้ ต้องบอกก่อนเลยว่าเราสามารถให้ได้ทุกอย่างที่เราอยากจะให้และแบ่งปันได้ตลอดเวลา โดยสิ่งนั้นต้องไม่ทำให้ตัวเองลำบาก

เพราะถ้าเราให้โดยที่ตัวเราลำบาก ความสุขที่ตั้งใจไว้หวังว่าจะได้จากการให้ก็จะไม่เกิด เราต้องตระหนักเสมอว่าควรทำตามกำลังศรัทธาของเราโดยไม่ทำให้ตัวเราและผู้อื่นเดือดร้อน โดยเฉพาะครอบครัวของเราเอง

การให้และแบ่งปันที่สำคัญที่สุดคือการให้อภัย หลายคนอาจมองว่าการให้อภัยผู้ที่ทำให้เราเจ็บช้ำใจ หรือคนที่ทำให้สังคมบอบช้ำ มันช่างยากเหลือเกิน

แต่ถ้าเราไม่สามารถสลัดความโกรธ ความเกลียด ความโมโห ออกไปจากใจได้ ชีวิตของเราจะดำเนินต่อไปอย่างไร ไม่เพียงแต่จะบั่นทอนจิตใจเราให้ต่ำลง

ยังทำให้ใจเราทุกข์ตลอดเวลา วันนี้ลองตั้งสติและคิดให้รอบด้านว่าหากเราให้อภัยคนคนหนึ่งได้ คนกลุ่มหนึ่งได้ ใจเราจะค่อยๆพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ให้และแบ่งปันให้ขยายไปสู่สังคมที่กว้างขึ้น

โดยที่เราจะมองเห็นสังคมที่มีความสุขเกิดขึ้นในทุก ๆ แห่งหน




การ “ให้ และ แบ่งปัน” ...ควรเริ่มที่ใคร? มาถึงตอนนี้เราคงตอบคำถามได้แล้วว่า การให้และการแบ่งปั่น ต้องเริ่มที่ตัวเอง...หนึ่งคนให้หลายคนรับ คือตัวเราให้

ไปสู่หลายคนในสังคมรับ เป็นการเริ่มต้นที่ควรจะมีอยู่ในใจของทุก ๆ คน...มาช่วยการสร้างสังคมแห่งการ “ให้ และแบ่งปัน” อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการให้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

__________________________

#กระจายบุญ...เริ่มที่เราให้...สังคมได้ไม่สิ้นสุด

#กระจายบุญ...พวงหรีดเพื่อสังคม

#กระจายบุญ...บุญที่จับต้องได้

#กระจายบุญ...ให้ได้มากกว่าที่คิด...อุทิศแด่ผู้ที่จากไป

  • share :
พร้อมบริการส่งรูปภาพยืนยัน เมื่อพวงหรีดจัดส่งเรียบร้อยแล้ว
สั่งพวงหรีดทางเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
“ไม่รับ” ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิต เนื่องจากเหตุผลด้านการดำเนินงานจัดซื้อของบริจาค