ปรับตัวอย่างไรเมื่อหมดไฟจากการทำงาน
ปรับตัวอย่างไรเมื่อหมดไฟจากการทำงาน
เคยมีความรู้สึกเหล่านี้กันบ้างมั้ย ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน
ต้องทำในเวลาเร่งรีบ ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
...หากมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่ ...ภาวะ Burn-out หรือ
ภาวะหมดไฟจากการทำงาน ปรับตัวอย่างไรเมื่อมีอาการเหล่านี้
ถ้าไม่รีบจัดการมีผลเสียอย่างไร?
ผลเสียต่อด้านร่างกาย อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ เบื่อหน่าย
ไร้ความสุข ซังกะตาย ใช้ชีวิตไปวันๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสิ่งรอบตัว /ผลเสียต่อจิตใจ บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง
รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
บางคนถึงขั้นนอนฝันร้าย และอาจนำไปการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์ / ผลเสียต่อการทำงาน อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
รับมือภาวะหมดไฟจากการทำงานอย่างไร?
ให้สำรวจตัวเองว่ากำลังประสบกับความเหนื่อยหน่ายในงานหรือไม่
การรับรู้ว่ากำลังประสบกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานเป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็น เมื่อเวลาผ่านไป
คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน
และการเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า
หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว
พยายามนอนและพักผ่อนให้มากขึ้น การนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำนายความเหนื่อยหน่าย หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่
จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น
รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายหัวใจและหลอดเลือด ในปัจจุบันมีการวัดได้ด้้วยตนเอง
การออกกำลังกายที่ถึงระดับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดนั้น ได้รับการยืนยันจากผลการศึกษาวิจัยว่า
สามารถลดอาการเหนื่อยหน่ายอย่างมีนัยสำคัญในเวลาเพียง 4 สัปดาห์
ฝึกทำสมาธิ และฝึกหายใจ ช่วยได้เสมอ การทำสมาธิแบบฝึกสติ เป็นเทคนิคที่ได้รับการยืนยันทางการแพทย์มายาวนาน
ที่สามารถช่วยให้เรารับมือกับปัญหาได้ในทุกสถานการณ์ การทำสมาธิไม่จำเป็นต้องทำให้ร่างกายอึดอัด
และไม่จำเป็นต้องบังคับให้ใจเราว่างเปล่า ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย สบายๆ
ที่สำคัญอย่าลืมว่าภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว
รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
...เพื่อความสร้างความสุขให้กับตัวเองให้หลุดพ้นจาก ภาวะ Burn-out หรือ ภาวะหมดไฟจากการทำงาน “occupational phenomenon”
(ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : กรมสุขภาพจิต 23 ตุลาคม 2562)
#"เริ่มต้นที่เราอ่าน...สู่การอ่านเพื่อสังคมอุดมปัญญา"
#กระจายบุญ...เริ่มต้นที่เราให้ สังคมได้ไม่สิ้นสุด
#กระจายบุญ...พวงหรีดเพื่อสังคม...อุทิศให้ผู้วายชนม์
#กระจายบุญ...บุญที่จับต้องได้
#กระจายบุญ...ให้ได้มากกว่าที่คิด...อุทิศแด่ผู้ที่จากไป